2.08.2555

พระมาลัย



          วรรณกรรมเรื่องพระมาลัย ซึ่งปรากฏในประเทศไทยยังมีความเป็นมาที่ไม่แน่นอน โดยมีข้อสันนิษฐานว่า น่าจะได้เค้าโครงเรื่องมาจากเรื่อง มาลัยวัตถุ ที่ปราชญ์ชาวลังกาแต่งไว้เป็นภาษาบาลี ผู้แต่งน่าจะเป็นพระภิกษุ ในรัชสมัยของพระเจ้าปรักกมพาหุ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเรื่องพระมาลัยนี้ถูกแต่งขึ้นในลังกา เพราะไม่ปรากฏคัมภีร์นี้เลยในลังกา แต่เค้าโครงเรื่องจูลคัลละในคัมภีร์สหัสสปกรณ์ของลังกา ซึ่งแต่งเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ได้กลายมาเป็นเค้าโครงของเรื่อง มาเลยยเทวัตเถรวัตถุ ของพม่า จึงมีข้อสันนิษฐานแย้งอีกว่า น่าจะได้เค้าโครงเรื่องมาจากเรื่อง “มาเลยยเทวัตเถรวัตถุ” ซึ่งถูกแต่งขึ้นในประเทศพม่า โดยภิกษุชาวพม่า ระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย  ทางด้วยกันคือ ทางล้านนาไทย ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘ ทางสุโขทัยประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ แต่ก็มีข้อสังเกตว่า ไม่ปรากฏหลักฐานต้นฉบับคัมภีร์มาเลยยเทวัตเถรวัตถุในประเทศพม่าเลย จากข้อมูลตรงนี้จึงสันนิษฐานได้ว่า เรื่องพระมาลัยที่แต่งขึ้นในประเทศพม่านั้น อาจจะเป็นผลงานทางวรรณกรรมสั้นๆ ที่เรียนว่า พระสูตร จึงมีการใช้คำว่า พระมาลัยสูตร เป็นลำดับต่อมา ดังที่ เปลื้อง  นครได้กล่าวไว้ว่า พระมาลัยสูตร นี้นับว่าเป็นเรื่องที่มีสิริมงคลเช่นเดียวกับเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก....”


          จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จึงไม่สามารถที่จะสรุปประวัติความเป็นมาของวรรณกรรมเรื่องนี้ได้

ความ แพร่หลายของเรื่อง
           เรื่องพระมาลัยนี้มีแพร่หลายในประเทศไทยมาตั้งแต่ สมัยโบราณเป็นเวลาช้านานแล้ว โดยปรากฏเป็นวรรณกรรมบ้าง เป็นบทสวดบ้าง ที่เป็นวรรณกรรมนั้น คือ พระมาลัยคำหลวง เป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศฯ จารไว้ในสมุดข่อยเป็นอักษรไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และอีกเรื่อง คือ ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งพระธรรมราชาลิไทยได้ทรงระบุไว้ในคาถานมัสการบานแผนกว่า “ในปาเลยยกะก็มีบ้าง” เข้าใจว่า คำว่า ปาเลยยกะ นั้น อาจหมายถึง พระมาเลยยกะหรือเรื่องพระมาลัยนั่นเอง ส่วนที่เป็นบทสวดนั้นจะถูกจารไว้ในสมุดข่อยบ้าง ในใบลานบ้าง ด้วยตัวอักษรของแต่ละท้องถิ่น เป็นอักษรไทยบ้าง อักษรธรรมบ้าง ภาษาที่ใช้ในการจารเป็นภาษาโบราณ และอักขรวิธี ก็เป็นแบบโบราณ เช่น ในภาคใต้มีการจารไว้ในสมุดข่อยด้วยอักษรขอมหรืออักษรไทย ที่เรียกว่า “บุด” และได้มีผู้ปริวรรตเป็นอักษรไทย แล้วเรียกว่า “พระมาลัยคำกาพย์” ในภาคอีสานมีการจารด้วยอักษรธรรมไว้ในใบลานแล้วเรียกว่า มาไลยหมื่น มาไลยแสน” ส่วนทางภาคเหนือก็มีการจารไว้ในใบลานเช่นเดียวกันกับทางภาคอีสาน แต่เรียนว่า ฏีกาพระมาลัย
           เรื่องพระมาลัยนั้นนอกจากจะมีความแพร่ หลายในประเทศไทยดังกล่าวแล้ว ยังมีเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศใกล้เคียงที่นับถือพระพุทธศาสนา เช่น พม่า ลาว และเขมร อีกด้วย ชื่อที่ใช้เรียกก็มีความคล้ายกัน คือในประเทศพม่า เรียวง่า “เซียงมาเลเบี้ยว” แปลว่า กาพย์พระมาลัย (เซียง แปลว่า พระมาเล แปลว่า มาลัย,เบี้ยว แปลว่า กาพย์ในประเทศลาว เรียกว่า มาลัยหมื่น มาลัยแสน” เช่นเดียวกับทางภาคอีสานของไทยและประเทศเขมรใช้ชื่อภาษาบาลีตามต้นฉบับตัวเขียนว่า มาเลยฺยเทวตฺเถรวตฺถุ เนื้อหาของพระมาลัยในแต่ละประเทศที่กล่าวมานั้นเป็นไปในทำนองเดียวกัน
           สำนวน ต่าง  ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น  จะแตกต่างกันเพียงชื่อที่ใช้เรียก การใช้ถ้อยคำภาษาและรูปแบบของคำประพันธ์เท่านั้น แต่เค้าโครงของเรื่องยังเหมือนเดิม คือ กล่าวถึง นรก สวรรค์  บาป บุญ คุณ โทษ และพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ เพื่อเป็นสื่อให้ผู้ฟัง หรือผู้อ่านได้เข้าใจถึงกรรมดี กรรมชั่ว ผลของกรรม การทำบุญ ทำทาน อานิสงส์ของการทำบุญ ทำทาน และการปฏิบัติเพื่อให้ได้เกิดในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรยในอนาคตอิทธิพลของเรื่อง
          เรื่องพระมาลัยมีอิทธิพล เป็นอย่างมากต่อความเชื่อของคนไทยในเรื่อง นรก สวรรค์ บาป บุญ คุณโทษ คือเชื่อว่า เมื่อทำบาปก็จะได้รับผลตอบแทนที่ไม่ดีคือตกนรก ส่วนเมื่อทำบุญ ทำทานอันเป็นความดีก็จะได้รับผลตอบแทนที่ดีคือได้ขึ้นสวรรค์ เป็นต้น เช่นเดียวกับเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง แต่เรื่องพระมาลัยสามารถเข้าถึงชาวบ้านได้มากกว่า เพราะเรื่องพระมาลัยมีการนำมาสวดในงานพิธีต่างๆ เช่น พิธีแต่งงานตอนเจ้าบ่าวไปนอนเฝ้าหอ และใช้สวดหน้าศพ   นอกจากความเชื่อในเรื่องดังกล่าวแล้ว เรื่องพระมาลัยยังมีอิทธิพลต่อคนไทยในเรื่อง พระศรีอาริย์ หรือพระศรี-อาริยเมตไตรยเป็นอย่างมากอีกด้วย ความจริงแล้วเรื่องราวที่เกี่ยวกับพระศรีอาริย์นั้น ได้มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกก่อนหน้าที่จะมีเรื่องพระมาลัยเกิดขึ้น คือ ปรากฎอยู่ในจักกวัตติสูตรหมวดทีฆนิกาย ปาฏิกวรรคว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมนุษย์มีอายุขัย ๘๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ....” แต่ในพระไตรปิฎกไม่ได้กล่าวถึงเกณฑ์ในการทำบุญต่าง  ที่ปรากฎในเรื่องพระมาลัยนั้นคงจะเกิดจากความคิดหรือจินตนาการของผู้ประ พันธ์เอง เพ่ะที่จะเบี่ยงเบนความคิดเดิมที่มุ่งทำบุญเพื่อให้ถึงพระนิพพานมาเป็นการ มุ่งทำบุญเพื่อให้ได้เกิดในยุคพระศรีอาริย์ แล้วจึงเข้าถึงพระนิพพานในภายหลัง ดังนั้น คนทั้งหลายจึงนิยมทำบุญกุศลตามที่เรื่องพระมาลัยได้กำหนดไว้ เช่น การฟังเทศน์มหาชาติอันประกอบด้วยคาถา ,๐๐๐ ให้จบภายในหนึ่งวัน การฟังเทศน์มหาชาติจึงเป็นประหนึ่งว่า เรือที่นำคนที่ต้องการไปเกิดในยุคของพระศรีอาริย์ให้ถึงฝั่ง และถือเป็นประเพณีอันสำคัญอีกด้วย
          เพราะอิทธิพลดังกล่าวมาจึงเป็นเหตุให้ นิยมสร้างเป็นหนังสือไว้ตามวัดต่าง  เพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ญาติที่ล่วงลับไป และด้วยเชื่อที่ว่าการสร้างหนังสือพระมาลัย หรือสมุดพระมาลัย ก็เหมือนกับได้สร้างพระธรรมไว้ในพระพุทธศาสนาด้วย จะได้รับกุศลผลบุญเป็นอย่างมาก อนึ่งในหนังสือพระมาลัยทุกเล่มจะจารพระอภิธรรม ๗คัมภีร์ไว้ต้อนต้นของหนังสือด้วย ไม่แปลกที่คนทั่วไปจะเรียกหนังสือพระมาลัยว่า คัมภีร์พระมาลัย   


 (อ่านต่อฉบับหน้า)

ไตรภูมิพระร่วง


"ไตรภูมิพระร่วง หรือ ไตรภูมิกถา” พระราชนิพนธ์ในพระ มหาธรรมราชาที่ 1  (พญาลิไทย)เป็นวรรณกรรมชิ้นเอกสมัยกรุงสุโขทัย ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ ..1888 เป็นวรรณคดีที่มีอิทธิพลต่อวรรณกรรม ศิลปกรรม ประเพณีสำคัญต่าง ของไทย และแทรกอยู่ในวรรณคดีไทยแทบทุกเรื่องมาตั้งแต่สมัย สุโขทัย เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ภาพจิตรกรรมฝาผนังตามวัดวาอารามต่าง  จิตรกรรมในสมุดไทย หนังสือใบลาน  การสร้างโบสถ์วิหาร พัทธสีมา ระเบียงคด การ สร้างพระเมรุมาศเป็นลักษณะของเขาพระสุเมรุ  ปราสาทราชวังต่าง   ล้วนได้แนวคิดและเรื่องมาจากไตรภูมิ
         พระมหาธรรมราชาลิไทย ทรงเป็นนักปราชญ์และนักการปกครอง มีพระปรีชารอบรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก อรรถกถาฎีกา อนุฏีกา และปกรณ์พิเศษต่าง พระองค์ยังเชี่ยวชาญในวิชาโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ และไสยศาสตร์จนถึงขั้นทรงบัญญัติคัมภีร์ศาสตราคม เป็นปฐมธรรมเนียมสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ขึ้นจาก การศึกษาค้นคว้าคัมภีร์ต่าง ทางพระพุทธศาสนามากกว่า 30 คัมภีร์ มี เนื้อหากล่าวถึงจักรวาลวิทยา ปรัชญา จริยศาสตร์ ชีววิทยา และ ความคิดความเชื่อทางพุทธศาสนา โดยแสดงหลักธรรมที่สำคัญคือ การ ละเว้นความชั่วประกอบกรรมดี  เป็ยกลวิธีการสอนประชาชนให้ยึด มั่นในคำสอนทางศาสนา เกรงกลัวต่อบาป ประกอบแต่กรรมดี ละเว้น กรรมชั่ว  ซึ่ง มีส่วนสำคัญในการดำรงความมั่นคงของประเทศชาติได้
        สาระสำคัญของเรื่องนื้  คือ การพรรณนาเรื่องการเกิดการตายของสัตว์ทั้งหลายว่า  “เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภูมิทั้งสาม  คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิด้วยอำนาจของบุญและบาปที่ตนได้กระทำแล้ว ไตรภูมิ หรือ ภูมิทั้งสาม รวมทั้งการกำเนิดและการตายของสัตว์"  กล่าวโดยสรุปได้ ดังนี้ 
ภูมิที่ 1  : กามภูมิ  
        เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ อบายภูมิและสุคติภูมิ
        1. อบายภูมิ คือแดน แห่งความเสื่อม
  แบ่งออกเป็นภูมิ ได้แก่ 
                  นรก ภูมิ
จัดอยู่ในอบาย ภูมิอันดับที่1 เป็นดินแดนที่ปราศจากความสุขสบาย สัตว์ที่ตกลงไปสู่นรก เพราะบาปกรรมชั่วที่ตนกระทำไว้เป็นอาจิณกรรม เมื่อตกลงไปแล้วจะได้รับทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส ไม่มีเวลาว่างเว้นจากการทัณฑ์ทรมาน นรกมีที่ตั้งอยู่ใต้เขาตรีกูฏ มีทั้งหมด 8ขุมใหญ่ที่เรียกว่า มหานรก และยังมีขุมบริวารที่เรียกว่า อุสสทนรก อีก 128ขุม มีนรกขุมย่อยที่เรียกว่า ยมโลก อีก 320ขุม

                        เปรตภูมิ
จัดอยู่ในอบายภูมิอันดับที่2 เป็นดินแดนที่มีแต่ความเดือดร้อนอดอยาก หิวกระหาย เปรตแบ่งออกเป็นหลายประเภท แต่ที่นิยมแบ่งกันมาก คือ เปรต 12ตระกูล ที่อยู่ของเปรตนั้น อยู่ที่ซอกเขาตรีกูฏ และมีปะปนอยู่กับมนุษยโลกด้วย แต่เป็นภพที่ละเอียดกว่า เหตุที่ทำให้มาเป็นเปรต เพราะได้ทำ อกุศลกรรมประเภทตระหนี่ หวงแหนทรัพย์ เป็นหลัก การเกิดเป็นเปรตนั้นมี 2ลักษณะ คือ ผ่านมาจากมหานรก อุสสทนรก และยมโลก หรือเกิดจากมนุษย์ผู้กระทำอกุศลกรรม ละโลกแล้วไปเกิดเป็นเปรต
                  อสูรกาย 
จัดอยู่ในอบายภูมิอันดับที่3 เป็นดินแดนที่ปราศจากความร่าเริง อสุรกายมีลักษณะคล้ายกับเปรตมากแยกแยะได้ยาก และอยู่ในภพภูมิเดียวกันกับเปรต คือ ที่ซอกเขาตรีกูฏ มีรูปร่างประหลาดพิลึกกึกกือ เช่น มีหัวเป็นหมูตัวเป็นคน มีความเป็นอยู่ที่แสนยากลำบากเช่นเดียวกับเปรต คือ อยู่ด้วยความหิวกระหาย แต่หนักไปทางกระหายน้ำมากกว่าอาหาร ที่ต้องเกิดมาเป็นอสุรกายเพราะ ความโลภอยากได้ของผู้อื่นในทางมิชอบ
                  ติ รัจฉานภูมิ
เป็นอบายภูมิอันดับสุดท้าย ที่มีความทุกข์ทรมานน้อยกว่าสัตว์ที่เกิดใน นรก เปรต และอสุรกาย ที่ชื่อ เดียรัจฉาน เพราะมีลำตัวไปทางขวาง อกขนานกับพื้น และจิตใจก็ขวางจากหนทางพระนิพพานด้วย ที่อยู่ของสัตว์เดียรัจฉานนี้ อยู่ปะปนกับมนุษย์ทั่วไป
         
        ภูมิ นรกภูมิ เป็นที่ตั้งของสัตว์ที่ทำบาป ต้องไปรับทัณฑ์ทรมานนานาประการ แบ่งออกเป็นขุมใหญ่ ขุมด้วยกัน คือ 
         (1) สัญชีพนรก 
         (2) กาฬสุตตนรก 
         (3) สังฆาฏนรก 
         (4) โรรุวะนรก 
         (5) มหาโรรุวะนรก 
         (6) ตาปนรก 
         (7) มหาตาปนรก
         (8) อวีจีนรก หรือ อเวจีนรก
        ในแต่ละนรกยังมีนรกบริวาร เช่น นรกขุมที่ชื่อโลหสิมพลี เป็นนรกบริวารของสัญชีพนรก ผู้ที่เป็นชู้กับสามีหรือภริยาผู้อื่นจะมาตกนรกขุม นี้  จะ ถูกนายนิรบาลไล่ต้อนให้ขึ้นต้นงิ้วที่สูงต้นละหนึ่งโยชน์ มีหนามเป็นเหล็กร้อนจนเป็นสีแดงมีเปลวไฟลุกโชนยาว ๑๖ นิ้ว ชายหญิงที่เป็นชู้กัน ต้องปีนขึ้นลง โดยมีนายนิรบาลเอาหอก แหลมทิ่มแทงให้ขึ้นลงวนเวียนอยู่เช่นนี้นับร้อยปีนรก
         สำหรับผู้ที่ทำบาป แต่ไม่หนักพอที่จะตกนรก ก็ไปเกิดในที่อันหาความเจริญมิได้ อื่น  เช่น เกิดเป็นเปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน พวกที่พ้นโทษจากนรกแล้วยังมีเศษบาปติดอยู่ก็ไปเกิด เป็นเดรัจฉานบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสูรกายบ้าง เป็นมนุษย์ที่ทุพพลภาพพิกลพิการ ตามความหนักเบาของบาปที่ตนได้ทำไว้
        2. สุคติภูมิ เป็น ส่วนของกามาพจรภูมิ หรือ กามสุคติภูมิ แบ่ง ออกเป็นเจ็ดชั้น  คือ มนุษย์ภูมิและ สวรรค์ชั้น รวมเรียกว่า ฉกามาพจร ได้แก่  จตุ มหาราชิกาภูมิ ตาวติงสาภูมิ (ดาวดึงส์-ไตรตรึงษ์) ยามาภูมิ ตุสิตาภูมิ (ดุสิต)  นิมมานรดี ภูมิ และ  ปร นิมมิตวสวัตดีภูมิ
      กามาพจรภูมิทั้งเจ็ดชั้น เป็นที่ตั้งอันเต็มไปด้วยกาม เป็นที่ท่องเที่ยวของสัตว์ที่ลุ่มหลงอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นอารมณ์อันพึงปรารถนา เมื่อรวมกับอบายภูมิอีกสี่ชั้นเรียกว่า กภูมิสิบเอ็ดชั้นสาม
ภูมิที่ 2 : รูปภูมิ หรือรูปาวจรภูมิ ได้แก่ รูปพรหมสิบหกชั้น เริ่ม ตั้งแต่พรหมปริสัชชาภูมิ ที่อยู่สูงกว่าสวรรค์ชั้นหก คือ ปรนิมมิตวสวัตดี มากจนนับระยะทางไม่ได้ ระยะทางดังกล่าวอุปมาไว้ว่าสม มติมีหินก้อนใหญ่เท่าโลหะปราสาทในลังกาทวีป ถ้าทิ้งหินก้อนนี้ทิ้งลงมาจากชั้นพรหมปริสัชชาภูมิ ต้องใช้เวลาถึงสี่เดือนจึงจะตกลงถึงพื้
    จาก พรหมปริสัชชาภูมิขึ้นไปถึงชั้นที่สิบเอ็ด ชื่อชั้นอสัญญีภูมิ เป็น รูปพรหมที่มีรูปแปลกออกไปจากพรหมชั้นอื่น คือ พรหมชั้นอื่น มีรูป มีความรู้สึก เคลื่อนไหวได้ แต่พรหมชั้นอสัญญีมีรูปที่ ไม่ไหวติง ไร้อริยาบท โบราณเรียกว่า พรหมลูกฟัก ครั้น หมดอายุ ฌานเสื่อมแล้วก็ไปเกิด ตามกรรมต่อไป
        รูปพรหมที่สูงขึ้นไปจากอสัญญีพรหม อีกห้าชั้นเรียกว่า ชั้นสุทธาวาส หมายถึงที่อยู่ของผู้บริสุทธิ ผู้ที่จะไปเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาสคือ ผู้ที่สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามี คือเป็นผู้ที่ไม่กลับมาสู่โลกนี้ต่อไป ทุกท่านจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วนิพพานในชั้น สุทธาวาสนี้
ภูมิที่ 3  : อรูปภูมิ หรืออรูปาพาจรภูมิ มี 4 ชั้น เป็นพรหมที่ไม่มีรูปปรากฏ ผู้ที่ไปเกิดในภูมินี้คือผู้ที่บำเพ็ญเพียรจนได้ บรรลุฌานโลกีย์ชั้นสูงสุด เรียก ว่าอรูปฌานซึ่งมีอยู่สี่ระดับได้แก่ผู้ที่บรรลุอากาสานัญจายตนะฌาน (ยึด หน่วงเอาอากาศเป็นอารมณ์) จะไปเกิดในอากาสานัญจายตะภูมิ ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะฌาน (ยึดหน่วงเอาวิญญาณเป็นอารมณ์) จะไปเกิดในวิญญาณัญจายตะภูมิ ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะฌาน (ยึด หน่วงเอาความไม่มีเป็นอารมณ์) จะไปเกิดในอากิญจัญญาตนะภูมิ และผู้ที่บรรลุเนวสัญญานสสัญญายตนะฌาน (ยึด หน่วงเอาฌานที่สามให้ละเอียดลงจนเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีญาก็มิใช่) จะไปเกิดในแนวสัญญานา สัญญายตนะภูมิ พรหมเหล่านี้เมื่อ เสื่อมจากฌานก็จะกลับมาเกิดในรูปพรหมภูมิ หรือภูมิอื่น ได้เช่นกัน
การกำเนิดและการตายของสัตว์
         การกำเนิดของสัตว์  การ เกิดของสัตว์ในสามภูมิมีอยู่อย่างด้วยกันคือ
         1.   ชลาพุช  เกิด ในครรภ์ เช่น มนุษย์และสัตว์ เดรัจฉานบางชนิดที่เลี้ยงลูกด้วยนม
        2.   อัณฑชะ  เกิดในไข่ ได้แก่สัตว์เดรัจฉานบางชนิด  เช่น นก สัตว์เลื้อยคลานบางชนิด ปลา เป็นต้น
        3.   สัง เสทชะ เกิดในเถ้า ไคล   ได้แก่ สัตว์ชั้นต่ำบางชนิดที่ใช้การแบ่งตัวออกไป   เช่น   ไฮดรา   อมิบา เป็นต้น
        4.  โอปาติกะ เกิดขึ้นเอง เมื่อเกิดแล้วก็จะสมบูรณ์เต็มที่ เมื่อตายไปจะไม่มีซาก   ได้แก่   เปรต   อสูร กาย เทวดา และพรหม เป็นต้น

การตายของสัตว์ การตายมีสาเหตุสี่ประการด้วยกันคือ
       1.  อายุขยะ       เป็นการ ตายเพราะสิ้นอายุ
       2.  กรรมขยะ  เป็นการ ตายเพราะสิ้นกรรม
       3.  อุภยขยะ      เป็นการ ตายเพราะสิ้นทั้ง อายุ และสิ้นทั้งกรรม
       4.  อุปัจเฉทกรรมขยะ    เป็นการ ตายเพราะอุบัติเหตุ
           นอกจาก นั้นแล้ว มีการกล่าวถึงสิ่งต่าง ในโลกและในจักรวาล มีภูเขาพระสุเมรุราชเป็นแกนกลาง แวดล้อมด้วยกำแพงน้ำสีทันดรสมุทร และ  ภูเขาสัตตบรรพต อันประกอบด้วย ภูเขายุคนธร   อิน ิมธร   กรวิก สุทัศนะ  เนมิ นธร  วิน ันตกะ  และ อัสสกัณณะ  
กล่าวถึงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวนพเคราะห์ และดารากรทั้งหลายในจักรวาล เป็นเครื่องบ่งบอกให้รู้วันเวลาฤดูกาล และเหตุการณ์ต่าง
          กล่าวถึงทวีปทั้งสี่ ที่ตั้งอยู่รอบภูเขาพระเมรุมาศ ชมพูทวีปอยู่ทางทิศใต้กว้าง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ มีปริมณฑล ๓๐๐,๐๐๐ โยชน์ มีแผ่นดินเล็กล้อมรอบได้ ๕๐๐ มีแผ่นดินเล็กอยู่กลางทวีปใหญ่สี่ผืน เรียกว่า สุวรรณทวีป กว้างได้ ,๐๐๐ โยชน์ มีประมณฑล ๓๐,๐๐๐ โยชน์ เป็นเมืองที่อยู่ของพญาครุฑ
   การกำหนดอายุของสัตว์ และโลกทั้งสามภูมิ มี กัลป์ มหากัลป์ การวินาศ การอบัติ การสร้างโลก สร้างแผ่นดินตามคติ ของพราหมณ์
     ท้ายสุดของภูมิกถา เป็นนิพพานคถาว่าด้วยนิพพานสมบัติของพระอริยะเจ้า ทั้งหลาย วิธีปฏิบัติเพื่อ บรรลุพระนิพพาน อันเป็นวิธีตามแนวทางของพระพุทธศาสนา

ไตรภูมิกับวิถีชีวิตในพุทธศาสนา


          ความเชื่อเรื่องไตรภูมิกับวิถีชีวิตในพุทธศาสนาของสังคมไทยมีมายาวนาน ไม่น้อยกว่า ๖๖๐ ปี นับตั้งแต่เมื่อครั้งสมเด็จพญาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่๑) กษัตริย์องค์ที่ แห่งกรุงสุโขทัย ทรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง เมื่อประมาณปี .. ๑๘๘๘ ทั้งความยั่งยืนของหนังสือฉบับนี้ยังคงตกทอดเป็นมรดกความเชื่อทางพุทธศาสนา จวบจนปัจจุบัน ทำให้แนวความคิด ตลอดจนคติความเชื่อเรื่องภูมิจักรวาลที่มีมาก่อนพุทธกาลในศาสนาพราหมณ์หรือ ฮินดู ที่อรรถอธิบายเรื่องไตรภูมิกล่าวถึงการเวียนวายตายเกิด บาปบุญคุณโทษ ตามแนวทางปรัชญาในพระพุทธศาสนา และเรื่องอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปกรรมไทยทุกประ เภท ทั้งจิตรกรรม ประติมา กรรม สถาปัตยกรรม งานประณีตศิลป์ และศิลปะพื้นบ้าน ไม่ว่าจะแสดงเรื่องราวทางเนื้อหา เพื่อแสดงความเชื่อเรื่องไตรภูมิโดยตรง หรือการแสดงรูปสัญลักษณ์ เพื่อแทนความหมายที่เป็นภพภูมิต่างๆ
     
    ความเชื่อเรื่องสถาบันกษัตริย์กับสังคมไทย
ที่เชื่อกันว่าพระองค์ทรงเป็นสมมุติเทวราช ทรงจุติมาจากสรวงสรรค์ ลงมาปกครองมนุษย์โลกให้อยู่รวมกันอย่างมีความสุข ทรงปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งขุนเขาเหนือน้ำและจักรวาลทั้งปวง เมื่อเสด็จสวรรคตหรือสิ้นพระชนม์มายุ จึงจะต้องส่งเสด็จกลับสู่สรวงสวรรค์ยอดเขาพระสุเมรุ อันเป็นศูนย์กลางจักรวาล จึงต้องมีการจำลองสร้างเขาพระสุเมรุตามความเชื่อ เพื่อประกอบพระราชพิธีปลงพระบรมศพหรือพระศพ ให้สมพระเกียรติ และเป็นไปตามโบราณราชประเพณีปฏิบัติเกี่ยวเนื่องสืบมา
          พระเมรุมาศ หรือพระเมรุ เป็นสถาปัตยกรรมไทย ประเภทสิ่งก่อสร้างชั่วคราว เป็นศิลปกรรมไทยที่สร้างขึ้นเป็นการเฉพาะ มีระเบียบแบบแผนที่ต้องอาศัยฝีมือช่างชั้นครูทุกแขนง เป็นผู้รังสรรค์ในการออกแบบก่อสร้าง ประดับตกแต่งพระเมรุมาศหรือพระเมรุให้สมพระเกียรติ รวมไปถึงอาคารประกอบต่างๆ ที่จัดสร้างขึ้นในบริเวณทุ่งพระเมรุหรือท้องสนามหลวง ที่มีลานกว้างสามารถรับการมาประชุมกันของผู้คนจำนวนมากได้ โดยรวมหมายถึงการจำลองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (สวรรค์ชั้นที่๒) บนเขาพระสุเมรุที่เป็นศูนย์กลางจักรวาล ซึ่งเป็นที่ประทับของพระอินทร์ ดังนั้นพระเมรุที่สร้างจะต้องมีความสูง มียอดแหลมให้เหมือนวิมานไพชยนต์ที่ประทับ โดยมีท้าวจตุโลกบาลเหนือเขายุคนธร ในสวรรค์ชั้นที่๑ ชั้นจาตุมหาราธิกา คอยอารักขา ประกอบด้วย ท้าวเวสสุวัณ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุณหก ท้าววิรูปักษ์ และหมู่ติณเทวดาเหนือเขาสัตบริภัณฑ์ทั้ง๗ หมู่เทวดาที่มีวิมานในป่าหิมพานต์ และสรรพสัตว์ในป่าหิมพานต์ลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ ไปจนสุดขอบเขตเขาจักรวาล ที่ประกอบกันเป็นส่วนต่างๆ ในบริเวณก่อสร้างพระเมรุมาศหรือพระเมรุ ทั้งแต่ละครั้งเป็นการแสดงฝีมือช่างทุกแขนงตามความคิดจินตนาการ ภายใต้การกำกับดูแลของสถาปนิกผู้ออกแบบพระเมรุมาศหรือพระเมรุของแต่ละยุค สมัย ที่เป็นผู้รอบรู้เจนจบในงานศิลปกรรมไทยเป็นอย่างดี
          ฉากบังเพลิงพระเมรุมาศ หรือพระเมรุ คือประตูปิดกั้นทางขึ้นลงพระเมรุ เป็นเครื่องกั้นในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระศพบนพระเมรุ เพื่อมิให้เห็นการถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระศพ มีลักษณะเป็นฉากพับ ได้ติดไว้กับเสาพระเมรุทั้ง ด้าน เมื่อใช้งานจะดึงหรือยกมาปิดไว้ ใช้สำหรับศพชั้นโกศเท่านั้น ถ้าเป็นเมรุธรรมดา และเป็นศพราชการใช้ลายเถาไม้ ถ้าเป็นศพพระราชวงศ์ใช้ฉากลายเทวดา รูปแบบของฉากบังเพลิงในอดีต ถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระศพมีมาแล้วในสมัยต้นรัตนโกสินทร์จวบจนถึงปัจจุบัน ฉากบังเพลิง ของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยกรมศิลปากรมอบหมายสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์จัดทำขึ้น ประกอบด้วยครูอาจารย์ ๑๗ คน ของวิทยาลัยช่างศิลป และคณะศิลปวิจิตร รวมทั้งนักศึกษาของวิทยาลัยช่างศิลป
          ในการออกแบบลวดลายเทวดา นางฟ้าเหาะอัญเชิญเครื่องสูงของฉากบังเพลิงพระเมรุ แต่ละด้านประกอบด้วย เทวดาเหาะอัญเชิญเครื่องสูง ช่อง และนางฟ้าอัญเชิญเครื่องสูง ช่อง ประกอบเข้าด้วยกันเป็นฉากบังเพลิง ด้าน เครื่องสูงที่เทวดานางฟ้าอัญเชิญเป็นเพียงสัญลักษณ์ของการอัญเชิญเครื่อง ประกอบพระอิสริยยศ เพื่อส่งเสด็จพระองค์ท่านสู่สวรรคาลัย ด้านที่ และ ลวดลายเทวดานางฟ้าเหาะ บรรเลงเครื่องดนตรี หรือเรียกว่า ดุริยดนตรี ติดตั้งทางด้านทิศตะวันออกและตก
          เครื่องดนตรี หรือดุริยดนตรี ตามความหมายในศัพท์ศิลปกรรม คือเครื่องมือที่ให้เกิดเสียงดนตรี แบ่งออกเป็นเครื่องดีด สี ตี เป่า เครื่องดีดนั้นมีพิณ ซึง และจะเข้ เครื่องสีนั้นมีซอสามสาย ซออู้ และซอด้วง เครื่องตีนั้น มีกรับ ระนาด ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง กลอง ฯลฯ เครื่องเป่านั้นมีปี่นอก-ใน ปี่ชวา ปี่ไฉน ขลุ่ย แคน สังข์ ฯลฯ เหล่านี้เพื่อบรรเลงส่งเสด็จสู่สรวงสวรรค์
          ส่วนลวดลายโคมไฟเป็นอัจกลับ หรือโคมหวด เป็นเครื่องตามประทีปแบบหนึ่ง ซ้าย-ขวาอักษรพระนาม กว. ประจำพระองค์ ลวดลาย ด้านล่างประดิษฐ์ดอกแก้วกัลยา ที่พระองค์ทรงประทานเป็นสัญลักษณ์แก่คนพิการ ดอกไม้ประดิษฐ์สีฟ้าที่พระองค์ทรงโปรด และด้านหลังของฉากบังเพลิงเป็นดอกแก้วกัลยา แต่โทนสีโดยรวมจะเป็นลวดลายทองคำบนพื้นสีแดง ให้น้ำหนักสีอ่อนแก่ให้สวยงามของดอกและใบ ตามวิธีการเขียนระบายสีของช่างไทย
          ฉากบังเตา เป็นครั้งแรกที่ทำขึ้น ทำกั้นไว้ห้องเตาเผาพระศพ มีขนาดโตกว่าฉากบังเพลิง ลวดลายของฉากเป็นลายเทวดายืน ภาพของท้าวจตุมหาราชา ซึ่งเป็นอุบัติเทพภพบนสรวงสวรรค์ ชั้นจตุมหาราชิกา ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นแรกในไตรภูมิเหนือยอดขายุคนธร เป็นหมู่เทพ องค์ บริวารท้าวสักกะเทวราช หรือพระอินทร์ ทำหน้าที่ปกป้องอารักขาประจำทิศทั้ง ดังนี้
          ท้าวเวสสุวัณ หรือกุเวร เป็นอธิบดีเหล่ายักษ์ มีหน้าที่อารักขาประจำทิศเหนือ แต่ในภาพเขียนจะไม่ใช้ภาพใบหน้ายักษ์โดยตรง แต่จะแปลงยักษ์เป็นใบหน้าแบบเทพ มีลักษณะใบหน้าดูขึงขัง ถืออาวุธกระบองหรือคฑา ผิวกายสีขาว ทรงอาภรณ์อย่างเทวดา
          ท้าวธตรฐ เป็นอธิบดีเหล่าคนธรรพ์ มีหน้าที่อารักขาประจำทิศตะวันออก พระหัตถ์ถือพระขรรค์เงิน ทรงพัตราภรณ์อย่างเทวดา
          ท้าววิรุฬหก เป็นอธิบดีของเหล่ากุมภัณต์ อารักขาประจำทิศใต้ สีกายขาวผ่อง พระหัตถ์ถือบ่วงบาศ และคันศร ทรงพัตราภรณ์อย่างกษัตริย์ ประดับด้วยไข่มุก
          ท้าววิรูปักษ์ เป็นอธิบดีของเหล่านาค อารักขาประจำทิศตะวันตก พระหัตถ์ถือพระขรรค์ สีแก้วประพาฬ
ลวดลายในช่องบน และช่องล่าง จะเป็นลวดลายกระหนกประกอบลายดอกแก้วกัลยา ใช้โทนสีของภาพด้านหน้าสีน้ำเงิน และด้านหลังโทนสีแดง เหมือนกับฉากบังเพลิง
          ในการออกแบบเขียนฉากบังเพลิง และฉากบังเตาในงานพระเมรุ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เป็นการแสดงความจงรักภักดี รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทของสถาบันกษัตริย์ เป็นบททดสอบบทหนึ่งของชาวไทยในยุคสมัยนี้ ที่แสดงให้เชิงประจักษ์ว่าช่างเป็นผู้รอบรู้เจนจบในงานศิลปกรรมไทยทุกแขนง เป็นอย่างดี ยังคงยึดถือขนบนิยมระเบียบแบบแผน ตามคติความเชื่อดั้งเดิมแต่โบราณเอาไว้ และสร้างสรรค์ให้เข้ากับยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงได้งดงามลงตัวสมบูรณ์ เฉกเช่นช่างไทยแต่ครั้งบรรพบุรุษทุกประการ (สยามรัฐออนไลน์ พย. ๒๕๕๑ )

c h a n e l