2.08.2555

ไตรภูมิกับวิถีชีวิตในพุทธศาสนา


          ความเชื่อเรื่องไตรภูมิกับวิถีชีวิตในพุทธศาสนาของสังคมไทยมีมายาวนาน ไม่น้อยกว่า ๖๖๐ ปี นับตั้งแต่เมื่อครั้งสมเด็จพญาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่๑) กษัตริย์องค์ที่ แห่งกรุงสุโขทัย ทรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง เมื่อประมาณปี .. ๑๘๘๘ ทั้งความยั่งยืนของหนังสือฉบับนี้ยังคงตกทอดเป็นมรดกความเชื่อทางพุทธศาสนา จวบจนปัจจุบัน ทำให้แนวความคิด ตลอดจนคติความเชื่อเรื่องภูมิจักรวาลที่มีมาก่อนพุทธกาลในศาสนาพราหมณ์หรือ ฮินดู ที่อรรถอธิบายเรื่องไตรภูมิกล่าวถึงการเวียนวายตายเกิด บาปบุญคุณโทษ ตามแนวทางปรัชญาในพระพุทธศาสนา และเรื่องอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปกรรมไทยทุกประ เภท ทั้งจิตรกรรม ประติมา กรรม สถาปัตยกรรม งานประณีตศิลป์ และศิลปะพื้นบ้าน ไม่ว่าจะแสดงเรื่องราวทางเนื้อหา เพื่อแสดงความเชื่อเรื่องไตรภูมิโดยตรง หรือการแสดงรูปสัญลักษณ์ เพื่อแทนความหมายที่เป็นภพภูมิต่างๆ
     
    ความเชื่อเรื่องสถาบันกษัตริย์กับสังคมไทย
ที่เชื่อกันว่าพระองค์ทรงเป็นสมมุติเทวราช ทรงจุติมาจากสรวงสรรค์ ลงมาปกครองมนุษย์โลกให้อยู่รวมกันอย่างมีความสุข ทรงปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งขุนเขาเหนือน้ำและจักรวาลทั้งปวง เมื่อเสด็จสวรรคตหรือสิ้นพระชนม์มายุ จึงจะต้องส่งเสด็จกลับสู่สรวงสวรรค์ยอดเขาพระสุเมรุ อันเป็นศูนย์กลางจักรวาล จึงต้องมีการจำลองสร้างเขาพระสุเมรุตามความเชื่อ เพื่อประกอบพระราชพิธีปลงพระบรมศพหรือพระศพ ให้สมพระเกียรติ และเป็นไปตามโบราณราชประเพณีปฏิบัติเกี่ยวเนื่องสืบมา
          พระเมรุมาศ หรือพระเมรุ เป็นสถาปัตยกรรมไทย ประเภทสิ่งก่อสร้างชั่วคราว เป็นศิลปกรรมไทยที่สร้างขึ้นเป็นการเฉพาะ มีระเบียบแบบแผนที่ต้องอาศัยฝีมือช่างชั้นครูทุกแขนง เป็นผู้รังสรรค์ในการออกแบบก่อสร้าง ประดับตกแต่งพระเมรุมาศหรือพระเมรุให้สมพระเกียรติ รวมไปถึงอาคารประกอบต่างๆ ที่จัดสร้างขึ้นในบริเวณทุ่งพระเมรุหรือท้องสนามหลวง ที่มีลานกว้างสามารถรับการมาประชุมกันของผู้คนจำนวนมากได้ โดยรวมหมายถึงการจำลองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (สวรรค์ชั้นที่๒) บนเขาพระสุเมรุที่เป็นศูนย์กลางจักรวาล ซึ่งเป็นที่ประทับของพระอินทร์ ดังนั้นพระเมรุที่สร้างจะต้องมีความสูง มียอดแหลมให้เหมือนวิมานไพชยนต์ที่ประทับ โดยมีท้าวจตุโลกบาลเหนือเขายุคนธร ในสวรรค์ชั้นที่๑ ชั้นจาตุมหาราธิกา คอยอารักขา ประกอบด้วย ท้าวเวสสุวัณ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุณหก ท้าววิรูปักษ์ และหมู่ติณเทวดาเหนือเขาสัตบริภัณฑ์ทั้ง๗ หมู่เทวดาที่มีวิมานในป่าหิมพานต์ และสรรพสัตว์ในป่าหิมพานต์ลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ ไปจนสุดขอบเขตเขาจักรวาล ที่ประกอบกันเป็นส่วนต่างๆ ในบริเวณก่อสร้างพระเมรุมาศหรือพระเมรุ ทั้งแต่ละครั้งเป็นการแสดงฝีมือช่างทุกแขนงตามความคิดจินตนาการ ภายใต้การกำกับดูแลของสถาปนิกผู้ออกแบบพระเมรุมาศหรือพระเมรุของแต่ละยุค สมัย ที่เป็นผู้รอบรู้เจนจบในงานศิลปกรรมไทยเป็นอย่างดี
          ฉากบังเพลิงพระเมรุมาศ หรือพระเมรุ คือประตูปิดกั้นทางขึ้นลงพระเมรุ เป็นเครื่องกั้นในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระศพบนพระเมรุ เพื่อมิให้เห็นการถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระศพ มีลักษณะเป็นฉากพับ ได้ติดไว้กับเสาพระเมรุทั้ง ด้าน เมื่อใช้งานจะดึงหรือยกมาปิดไว้ ใช้สำหรับศพชั้นโกศเท่านั้น ถ้าเป็นเมรุธรรมดา และเป็นศพราชการใช้ลายเถาไม้ ถ้าเป็นศพพระราชวงศ์ใช้ฉากลายเทวดา รูปแบบของฉากบังเพลิงในอดีต ถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระศพมีมาแล้วในสมัยต้นรัตนโกสินทร์จวบจนถึงปัจจุบัน ฉากบังเพลิง ของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยกรมศิลปากรมอบหมายสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์จัดทำขึ้น ประกอบด้วยครูอาจารย์ ๑๗ คน ของวิทยาลัยช่างศิลป และคณะศิลปวิจิตร รวมทั้งนักศึกษาของวิทยาลัยช่างศิลป
          ในการออกแบบลวดลายเทวดา นางฟ้าเหาะอัญเชิญเครื่องสูงของฉากบังเพลิงพระเมรุ แต่ละด้านประกอบด้วย เทวดาเหาะอัญเชิญเครื่องสูง ช่อง และนางฟ้าอัญเชิญเครื่องสูง ช่อง ประกอบเข้าด้วยกันเป็นฉากบังเพลิง ด้าน เครื่องสูงที่เทวดานางฟ้าอัญเชิญเป็นเพียงสัญลักษณ์ของการอัญเชิญเครื่อง ประกอบพระอิสริยยศ เพื่อส่งเสด็จพระองค์ท่านสู่สวรรคาลัย ด้านที่ และ ลวดลายเทวดานางฟ้าเหาะ บรรเลงเครื่องดนตรี หรือเรียกว่า ดุริยดนตรี ติดตั้งทางด้านทิศตะวันออกและตก
          เครื่องดนตรี หรือดุริยดนตรี ตามความหมายในศัพท์ศิลปกรรม คือเครื่องมือที่ให้เกิดเสียงดนตรี แบ่งออกเป็นเครื่องดีด สี ตี เป่า เครื่องดีดนั้นมีพิณ ซึง และจะเข้ เครื่องสีนั้นมีซอสามสาย ซออู้ และซอด้วง เครื่องตีนั้น มีกรับ ระนาด ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง กลอง ฯลฯ เครื่องเป่านั้นมีปี่นอก-ใน ปี่ชวา ปี่ไฉน ขลุ่ย แคน สังข์ ฯลฯ เหล่านี้เพื่อบรรเลงส่งเสด็จสู่สรวงสวรรค์
          ส่วนลวดลายโคมไฟเป็นอัจกลับ หรือโคมหวด เป็นเครื่องตามประทีปแบบหนึ่ง ซ้าย-ขวาอักษรพระนาม กว. ประจำพระองค์ ลวดลาย ด้านล่างประดิษฐ์ดอกแก้วกัลยา ที่พระองค์ทรงประทานเป็นสัญลักษณ์แก่คนพิการ ดอกไม้ประดิษฐ์สีฟ้าที่พระองค์ทรงโปรด และด้านหลังของฉากบังเพลิงเป็นดอกแก้วกัลยา แต่โทนสีโดยรวมจะเป็นลวดลายทองคำบนพื้นสีแดง ให้น้ำหนักสีอ่อนแก่ให้สวยงามของดอกและใบ ตามวิธีการเขียนระบายสีของช่างไทย
          ฉากบังเตา เป็นครั้งแรกที่ทำขึ้น ทำกั้นไว้ห้องเตาเผาพระศพ มีขนาดโตกว่าฉากบังเพลิง ลวดลายของฉากเป็นลายเทวดายืน ภาพของท้าวจตุมหาราชา ซึ่งเป็นอุบัติเทพภพบนสรวงสวรรค์ ชั้นจตุมหาราชิกา ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นแรกในไตรภูมิเหนือยอดขายุคนธร เป็นหมู่เทพ องค์ บริวารท้าวสักกะเทวราช หรือพระอินทร์ ทำหน้าที่ปกป้องอารักขาประจำทิศทั้ง ดังนี้
          ท้าวเวสสุวัณ หรือกุเวร เป็นอธิบดีเหล่ายักษ์ มีหน้าที่อารักขาประจำทิศเหนือ แต่ในภาพเขียนจะไม่ใช้ภาพใบหน้ายักษ์โดยตรง แต่จะแปลงยักษ์เป็นใบหน้าแบบเทพ มีลักษณะใบหน้าดูขึงขัง ถืออาวุธกระบองหรือคฑา ผิวกายสีขาว ทรงอาภรณ์อย่างเทวดา
          ท้าวธตรฐ เป็นอธิบดีเหล่าคนธรรพ์ มีหน้าที่อารักขาประจำทิศตะวันออก พระหัตถ์ถือพระขรรค์เงิน ทรงพัตราภรณ์อย่างเทวดา
          ท้าววิรุฬหก เป็นอธิบดีของเหล่ากุมภัณต์ อารักขาประจำทิศใต้ สีกายขาวผ่อง พระหัตถ์ถือบ่วงบาศ และคันศร ทรงพัตราภรณ์อย่างกษัตริย์ ประดับด้วยไข่มุก
          ท้าววิรูปักษ์ เป็นอธิบดีของเหล่านาค อารักขาประจำทิศตะวันตก พระหัตถ์ถือพระขรรค์ สีแก้วประพาฬ
ลวดลายในช่องบน และช่องล่าง จะเป็นลวดลายกระหนกประกอบลายดอกแก้วกัลยา ใช้โทนสีของภาพด้านหน้าสีน้ำเงิน และด้านหลังโทนสีแดง เหมือนกับฉากบังเพลิง
          ในการออกแบบเขียนฉากบังเพลิง และฉากบังเตาในงานพระเมรุ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เป็นการแสดงความจงรักภักดี รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทของสถาบันกษัตริย์ เป็นบททดสอบบทหนึ่งของชาวไทยในยุคสมัยนี้ ที่แสดงให้เชิงประจักษ์ว่าช่างเป็นผู้รอบรู้เจนจบในงานศิลปกรรมไทยทุกแขนง เป็นอย่างดี ยังคงยึดถือขนบนิยมระเบียบแบบแผน ตามคติความเชื่อดั้งเดิมแต่โบราณเอาไว้ และสร้างสรรค์ให้เข้ากับยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงได้งดงามลงตัวสมบูรณ์ เฉกเช่นช่างไทยแต่ครั้งบรรพบุรุษทุกประการ (สยามรัฐออนไลน์ พย. ๒๕๕๑ )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

c h a n e l