2.08.2555

พระมาลัย



          วรรณกรรมเรื่องพระมาลัย ซึ่งปรากฏในประเทศไทยยังมีความเป็นมาที่ไม่แน่นอน โดยมีข้อสันนิษฐานว่า น่าจะได้เค้าโครงเรื่องมาจากเรื่อง มาลัยวัตถุ ที่ปราชญ์ชาวลังกาแต่งไว้เป็นภาษาบาลี ผู้แต่งน่าจะเป็นพระภิกษุ ในรัชสมัยของพระเจ้าปรักกมพาหุ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเรื่องพระมาลัยนี้ถูกแต่งขึ้นในลังกา เพราะไม่ปรากฏคัมภีร์นี้เลยในลังกา แต่เค้าโครงเรื่องจูลคัลละในคัมภีร์สหัสสปกรณ์ของลังกา ซึ่งแต่งเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ได้กลายมาเป็นเค้าโครงของเรื่อง มาเลยยเทวัตเถรวัตถุ ของพม่า จึงมีข้อสันนิษฐานแย้งอีกว่า น่าจะได้เค้าโครงเรื่องมาจากเรื่อง “มาเลยยเทวัตเถรวัตถุ” ซึ่งถูกแต่งขึ้นในประเทศพม่า โดยภิกษุชาวพม่า ระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทย  ทางด้วยกันคือ ทางล้านนาไทย ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘ ทางสุโขทัยประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ แต่ก็มีข้อสังเกตว่า ไม่ปรากฏหลักฐานต้นฉบับคัมภีร์มาเลยยเทวัตเถรวัตถุในประเทศพม่าเลย จากข้อมูลตรงนี้จึงสันนิษฐานได้ว่า เรื่องพระมาลัยที่แต่งขึ้นในประเทศพม่านั้น อาจจะเป็นผลงานทางวรรณกรรมสั้นๆ ที่เรียนว่า พระสูตร จึงมีการใช้คำว่า พระมาลัยสูตร เป็นลำดับต่อมา ดังที่ เปลื้อง  นครได้กล่าวไว้ว่า พระมาลัยสูตร นี้นับว่าเป็นเรื่องที่มีสิริมงคลเช่นเดียวกับเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก....”


          จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จึงไม่สามารถที่จะสรุปประวัติความเป็นมาของวรรณกรรมเรื่องนี้ได้

ความ แพร่หลายของเรื่อง
           เรื่องพระมาลัยนี้มีแพร่หลายในประเทศไทยมาตั้งแต่ สมัยโบราณเป็นเวลาช้านานแล้ว โดยปรากฏเป็นวรรณกรรมบ้าง เป็นบทสวดบ้าง ที่เป็นวรรณกรรมนั้น คือ พระมาลัยคำหลวง เป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศฯ จารไว้ในสมุดข่อยเป็นอักษรไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และอีกเรื่อง คือ ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งพระธรรมราชาลิไทยได้ทรงระบุไว้ในคาถานมัสการบานแผนกว่า “ในปาเลยยกะก็มีบ้าง” เข้าใจว่า คำว่า ปาเลยยกะ นั้น อาจหมายถึง พระมาเลยยกะหรือเรื่องพระมาลัยนั่นเอง ส่วนที่เป็นบทสวดนั้นจะถูกจารไว้ในสมุดข่อยบ้าง ในใบลานบ้าง ด้วยตัวอักษรของแต่ละท้องถิ่น เป็นอักษรไทยบ้าง อักษรธรรมบ้าง ภาษาที่ใช้ในการจารเป็นภาษาโบราณ และอักขรวิธี ก็เป็นแบบโบราณ เช่น ในภาคใต้มีการจารไว้ในสมุดข่อยด้วยอักษรขอมหรืออักษรไทย ที่เรียกว่า “บุด” และได้มีผู้ปริวรรตเป็นอักษรไทย แล้วเรียกว่า “พระมาลัยคำกาพย์” ในภาคอีสานมีการจารด้วยอักษรธรรมไว้ในใบลานแล้วเรียกว่า มาไลยหมื่น มาไลยแสน” ส่วนทางภาคเหนือก็มีการจารไว้ในใบลานเช่นเดียวกันกับทางภาคอีสาน แต่เรียนว่า ฏีกาพระมาลัย
           เรื่องพระมาลัยนั้นนอกจากจะมีความแพร่ หลายในประเทศไทยดังกล่าวแล้ว ยังมีเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศใกล้เคียงที่นับถือพระพุทธศาสนา เช่น พม่า ลาว และเขมร อีกด้วย ชื่อที่ใช้เรียกก็มีความคล้ายกัน คือในประเทศพม่า เรียวง่า “เซียงมาเลเบี้ยว” แปลว่า กาพย์พระมาลัย (เซียง แปลว่า พระมาเล แปลว่า มาลัย,เบี้ยว แปลว่า กาพย์ในประเทศลาว เรียกว่า มาลัยหมื่น มาลัยแสน” เช่นเดียวกับทางภาคอีสานของไทยและประเทศเขมรใช้ชื่อภาษาบาลีตามต้นฉบับตัวเขียนว่า มาเลยฺยเทวตฺเถรวตฺถุ เนื้อหาของพระมาลัยในแต่ละประเทศที่กล่าวมานั้นเป็นไปในทำนองเดียวกัน
           สำนวน ต่าง  ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น  จะแตกต่างกันเพียงชื่อที่ใช้เรียก การใช้ถ้อยคำภาษาและรูปแบบของคำประพันธ์เท่านั้น แต่เค้าโครงของเรื่องยังเหมือนเดิม คือ กล่าวถึง นรก สวรรค์  บาป บุญ คุณ โทษ และพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ เพื่อเป็นสื่อให้ผู้ฟัง หรือผู้อ่านได้เข้าใจถึงกรรมดี กรรมชั่ว ผลของกรรม การทำบุญ ทำทาน อานิสงส์ของการทำบุญ ทำทาน และการปฏิบัติเพื่อให้ได้เกิดในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรยในอนาคตอิทธิพลของเรื่อง
          เรื่องพระมาลัยมีอิทธิพล เป็นอย่างมากต่อความเชื่อของคนไทยในเรื่อง นรก สวรรค์ บาป บุญ คุณโทษ คือเชื่อว่า เมื่อทำบาปก็จะได้รับผลตอบแทนที่ไม่ดีคือตกนรก ส่วนเมื่อทำบุญ ทำทานอันเป็นความดีก็จะได้รับผลตอบแทนที่ดีคือได้ขึ้นสวรรค์ เป็นต้น เช่นเดียวกับเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง แต่เรื่องพระมาลัยสามารถเข้าถึงชาวบ้านได้มากกว่า เพราะเรื่องพระมาลัยมีการนำมาสวดในงานพิธีต่างๆ เช่น พิธีแต่งงานตอนเจ้าบ่าวไปนอนเฝ้าหอ และใช้สวดหน้าศพ   นอกจากความเชื่อในเรื่องดังกล่าวแล้ว เรื่องพระมาลัยยังมีอิทธิพลต่อคนไทยในเรื่อง พระศรีอาริย์ หรือพระศรี-อาริยเมตไตรยเป็นอย่างมากอีกด้วย ความจริงแล้วเรื่องราวที่เกี่ยวกับพระศรีอาริย์นั้น ได้มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกก่อนหน้าที่จะมีเรื่องพระมาลัยเกิดขึ้น คือ ปรากฎอยู่ในจักกวัตติสูตรหมวดทีฆนิกาย ปาฏิกวรรคว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมนุษย์มีอายุขัย ๘๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ....” แต่ในพระไตรปิฎกไม่ได้กล่าวถึงเกณฑ์ในการทำบุญต่าง  ที่ปรากฎในเรื่องพระมาลัยนั้นคงจะเกิดจากความคิดหรือจินตนาการของผู้ประ พันธ์เอง เพ่ะที่จะเบี่ยงเบนความคิดเดิมที่มุ่งทำบุญเพื่อให้ถึงพระนิพพานมาเป็นการ มุ่งทำบุญเพื่อให้ได้เกิดในยุคพระศรีอาริย์ แล้วจึงเข้าถึงพระนิพพานในภายหลัง ดังนั้น คนทั้งหลายจึงนิยมทำบุญกุศลตามที่เรื่องพระมาลัยได้กำหนดไว้ เช่น การฟังเทศน์มหาชาติอันประกอบด้วยคาถา ,๐๐๐ ให้จบภายในหนึ่งวัน การฟังเทศน์มหาชาติจึงเป็นประหนึ่งว่า เรือที่นำคนที่ต้องการไปเกิดในยุคของพระศรีอาริย์ให้ถึงฝั่ง และถือเป็นประเพณีอันสำคัญอีกด้วย
          เพราะอิทธิพลดังกล่าวมาจึงเป็นเหตุให้ นิยมสร้างเป็นหนังสือไว้ตามวัดต่าง  เพื่ออุทิศผลบุญให้แก่ญาติที่ล่วงลับไป และด้วยเชื่อที่ว่าการสร้างหนังสือพระมาลัย หรือสมุดพระมาลัย ก็เหมือนกับได้สร้างพระธรรมไว้ในพระพุทธศาสนาด้วย จะได้รับกุศลผลบุญเป็นอย่างมาก อนึ่งในหนังสือพระมาลัยทุกเล่มจะจารพระอภิธรรม ๗คัมภีร์ไว้ต้อนต้นของหนังสือด้วย ไม่แปลกที่คนทั่วไปจะเรียกหนังสือพระมาลัยว่า คัมภีร์พระมาลัย   


 (อ่านต่อฉบับหน้า)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

c h a n e l